วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2551

การลงท้ายคำกริยา

การลงท้ายคำกริยาในภาษาเกาหลีมี 2 แบบคือ
1. แบบ 다
2. แบบ 요
การลงท้ายคำกริยาแบบ 다 มีความสุภาพและทางการ ในขณะที่แบบ 요 นั้นมักจะใช้ทั่วๆ ไป ไม่ทางการ
อันดับแรก เรามาเรียนแบบที่สุภาพและทางการกันก่อนนะคะ นั่นคือ แบบ 다

การลงท้ายคำกริยาแบบ 다 บอกเล่า – ปัจจุบัน
มีขั้นตอนการผัน ดังนี้ค่ะ

1. ตัด 다 ที่คำกริยาเดิม(แท้)ในภาษาเกาหลีจะลงท้ายด้วย 다 เช่น 먹다,가다,기다리다
2. สังเกตว่า พยางค์สุดท้ายของคำกริยาที่ตัด 다 แล้ว มีตัวสะกด หรือไม่
ถ้า มีตัวสะกดใช้ - 습니다
ไม่มีตัวสะกด ใช้ - ㅂ 니다 โดยนำตัว ㅂไว้ตำแหน่งของตัวสะกดของคำคำกริยานั้น

คำกริยา 먹다 = กิน
ผันคำกริยา เป็น 먹 + 습니다 = 먹습니다 (มอก-ซึม-นี-ดา)

คำกริยา 가다 = ไป
ผันคำกริยาเป็น 가 + ㅂ 니다 = 갑니다

- 기다리다 รอ,คอย = 기다립니다
- 받다 ได้รับ = 받습니다
- 읽다 อ่าน = 읽습니다
- 만니다 พบ,เจอ = 만납니다
- 사랑하다 รัก = 사랑합니다
- 좋아하다 ชอบ = 좋아합니다
- 미안하다 ขอโทษ = 미안합니다
- 어렵다 ยาก = 어렵습니다
- 쉽다 ง่าย = 쉽습니다

คราวนี้ก็ได้รู้คำศัพท์คำกริยาเพิ่มเติมอีกหน่อย รีบท่องกันได้แล้วนะคะ

บทหน้า เป็นรูปแบบ 다 เวอร์ชั่น คำถาม- ปัจจุบัน

ใจเย็นๆ ค่ะ ใกล้จะพูดได้เต็มประโยคแล้วนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551

โครงสร้างประโยคภาษาเกาหลี

ในภาษาเกาหลีมีโครงสร้างประโยคแตกต่างจากภาษาไทยเล็กน้อยค่ะ
เดี๋ยวจะเปรียบเทียบโครงสร้างประโยคของไทยกะเกาหลีให้ดูกัน













จะเห็นได้ว่าในโครงสร้างของภาษาเกาหลีนั้น คำกริยาจะต้องอยู่ที่ท้ายประโยค
เพราะฉะนั้นเวลาจะพูดประโยคในภาษาเกาหลีเราต้องกลับคำให้คำกริยาไปอยู่ที่ท้ายประโยค
ไม่ว่าประโยคจะยาวแค่ไหนก็ตาม
ตัวอย่าง
ไทย : น้อง ดู ทีวี
เกาหลี : น้อง ทีวี ดู

ไทย : แม่ ทำ อาหาร
เกาหลี : แม่ อาหาร ทำ

ไทย : ฉัน ตี หมา
เกาหลี : ฉัน หมา ตี

ไทย : พี่สาว อ่าน หนังสือภาษาเกาหลี
เกาหลี : พี่สาว หนังสือภาษาเกาหลี อ่าน

ลักษณะการพูดประโยคเกาหลีก็จะเป็นเช่นนี้แหละค่ะ
นี่แหละคือเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภาษาเกาหลีนะคะ
บทหน้าจะนำเสนอส่วนสำคัญที่สุดของประโยคภาษาเกาหลีกัน นั่นก็คือ คำกริยา
เกริ่นนำนิดหนึ่งว่าทำไมคำกริยาถึงต้องสำคัญ
เหตุผลก็เพราะว่า คำกริยาจะเป็นตัวบอกกาลเวลา, คำถาม, บอกเล่า, คำสั่ง, ชักชวน หรือ การปฏิเสธ ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจะมีการผันคำกริยาเพื่อบอกกาลเวลาและต่างๆ ที่กล่าวแล้วข้างต้น
หากเราไม่ผันคำกริยา คนเกาหลีก็จะฟังไม่เข้าใจ เช่น คำว่า กิน (먹다)
ถ้าไม่ผัน ก็จะมีความหมายเพียงว่า กิน เท่านั้น
คนฟังไม่รู้หรอกว่า กินแล้ว จะกิน หรือ กำลังกิน
ประมาณนี้ค่ะ อย่าเครียดกันนะคะ มันยากค่ะ

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551

หลักการอ่าน ตอนที่ 3

2. เสียงตัวสะกด แม่กก แม่กด และแม่กบ (ㄱ,ㄷ,ㅂ)อยู่หน้าพยัญชนะต้น ㄴ และ ㅁ
เสียงตัวสะกดในแม่ดังกล่าว จะเปลี่ยนเสียงเป็นดังนี้


- ตัวสะกดแม่กก ㄱ,ㄲ,ㅋ เจอพยัญชนะต้น ㄴ,ㅁ

ตัวสะกดแม่กก ออกเสียงเป็นตัว

เช่น 먹는 อ่านว่า /멍는/มอง-นึน,
국말 อ่านว่า /궁말/ คุง-มัล

- ตัวสะกดแม่กด ㄷ,ㅌ,ㅅ,ㅆ,ㅈ,ㅊ,ㅎ เจอพยัญชนะต้น ㄴ,ㅁ
ตัวสะกดแม่กด ออกเสียงเป็น

เช่น 옷는 อ่านว่า /온는/ อน-นึน ,
닫는 อ่านว่า /단는/ ทัน-นึน

-ตัวสะกดแม่กบ ㅂ,ㅍเจอพยัญชนะต้น ㄴ,ㅁ
เสียงตัวสะกดแม่กบ ออกเสียงเป็นตัว

เช่น 합니다 อ่านว่า /함니다/ฮัม-นี-ดา ,
밥만 อ่านว่า /밤만/ พัม-มัน


3. เมื่อตัว ㄴกับ ㄹ มาเจอกัน ไม่ว่าตัวใดตัวหนึ่งจะเป็นตัวสะกดหรือพยัญชนะก็ตาม
เมื่อมันมาเจอกัน ตัว ㄴให้ออกเสียงเป็นตัว ㄹ

- ㄴ + ㄹ → ㄹ+ㄹ
เช่น 연락 อ่านว่า /열락/ยอล-รัก, 신라 อ่านว่า /실라/ ซิล-รา

- ㄹ + ㄴ→ ㄹ+ㄹ
เช่น 설날 อ่านว่า /설랄/ ซอล-รัล, 오늘날 อ่านว่า /오늘랄/ โอ-นึล-รัล

4. เมื่อตัวสะกด ㄷ และ ㅌ อยู่หน้าคำว่า

- ตัวสะกด ㄷ + 이 →
เช่น 맏이 อ่านว่า /마지/ มา-จี, 해돋이 อ่านว่า /해도지/ แฮ-โด-จี

- ตัวสะกด ㅌ+ 이 →
เช่น 같이 อ่านว่า /가치/คา-ชี่, 밭이 อ่านว่า /바치/ พา-ชี่

ติดตามตอนต่อไปนะคะ

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

หลักการอ่าน 2 (การเปลี่ยนเสียง)

การเปลี่ยนเสียงที่เราจะเรียนกันนั้น ขอยกตัวอย่างเอาตัวที่เราเจอกันเป็นด่านแรก และมักจะเสมอๆ ก็คือ
1. เมื่อตัวพยัญชนะ ㄱ,ㄷ,ㅂ,ㅅ,ㅈตามหลัง เสียงตัวสะกดแม่กก แม่กด และแม่กบ

พยัญชนะเหล่านั้นจะเปลี่ยนเป็นเสียงตัวซัง คือ ㄲ,ㄸ,ㅃ,ㅆ,ㅉ


เช่น 먹다 อ่านว่า /먹따/ มอก-ตา
받다 อ่านว่า /받따/ พัด ตา
읽습니다 อ่านว่า /익씀니다/ อิก ซึม นี ดา
잡지 อ่านว่า /잡찌/ ชับ จี
어젯밤 อ่านว่า /어젣빰/ ออ เจด ปัม



วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

หลักการอ่านภาษาเกาหลี

การอ่านลากเสียง

จะเกิดการลากเสียงเมื่อพยัญชนะต้น ㅇ ตามหลังคำที่มีตัวสะกด เช่น 꽃이, 직업,씻어요 เป็นต้น

วิธีการอ่าน : ให้ลากเสียงตัวสะกดของพยางค์ที่อยู่หน้าตัว ㅇ มาแทนเสียงตัว ㅇ

꽃이 > 꼬치 อ่านว่า โก-ชี่
직업 > 지겁 อ่านว่า ชี-ก็อบ
씻어요 > 씨서요 อ่านว่า ซี่-ซอ-โย
음악 > 으막 อ่านว่า อือ-หมัก

**ตัวสะกด 2 ตัว ให้ลากเสียงตัวสะกดตัวหลังมาแทนเสียงตัว ㅇส่วนตัวสะกดตัวแรกให้คงเป็นเสียงตัวสะกดของพยางค์นั้น และตัวสะกดตัวซัง(쌍) ㄲ,ㅆ ให้ลากเสียงตัวซังไปทั้งคู่

앉아요 > 안자요 อ่านว่า อัน-จา-โย
없어요 > 업서요 อ่านว่า อ็อบ-ซอ-โย
읽어서 > 일거서 อ่านว่า อิล-กอ-ซอ
넓으면 > 널브면 อ่านว่า นอล-บือ-มยอน
밖에서 > 바께서 อ่านว่า พา-เก่-ซอ
있어요 > 이써요 อ่านว่า อี-ซอ-โย

ตัวยกเว้น
1. ตัวสะกดตัว ㅇ จะไม่มีการลากเสียงเกิดขึ้น

병원 อ่านว่า พยอง-วอน,
강아지 อ่านว่า คัง-อา-จี,
중앙 อ่านว่า ชุง-อัง,
방에서 อ่านว่า พัง-เอ-ซอ

2. ตัวสะกด ㅎ เมื่อเจอพยัญชนะㅇเวลาอ่านให้ทำเหมือนว่าไม่มีตัวสะกด ㅎ อยู่

놓아요 > 노아요 อ่านว่า โน-อา-โย
좋아요 > 조아요 อ่านว่า โช-อา-โย

** ถึงแม้จะเป็นตัวสะกด 2 ตัวที่มีตัวสะกด ㅎ ด้วย เวลาอ่านให้ทำเหมือนว่าไม่มีตัวสะกด ㅎ

싫어요 > 시러요 อ่านว่า ชี-รอ-โย
많아서 > 마나요 อ่านว่า มา-นา-โย
많아 > 마니 อ่านว่า มา-นี

การออกเสียงสระ 의

สระ 의อ่านออกเสียงได้ 3 แบบ คือ
1. สระ 의 อ่านออกเสียงเป็น อึย เมื่อคำว่า 의 อยู่ในพยางค์แรก
เช่น 의자 อึยจา เก้าอี้
의미 อึยมี ความหมาย
의사 อึยซา หมอ
2. สระ 의 อ่านออกเสียงเป็น อี เมื่อคำว่า 의 อยู่ในพยางค์หลัง และหากพยัญชนะต้นเป็นตัวอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ㅇ
เช่น 회의 ฮเวอี ประชุม
띄다 ตีดา ตี
의의 อึยอี แสดง,สำคัญ
유희 ยูฮี เล่น(เกม,กีฬา)
희다 ฮีดา ขาว
3. สระ 의 อ่านออกเสียงเป็น เอ เมื่อแสดงความเป็นเจ้าของ
เช่น 어머니의 ของแม่
저의 (제) ของฉัน

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ตัวสะกดในภาษาเกาหลี

ถ้าหากว่าเราจำพยัญชนะทั้งหมดว่าตัวไหนตรงกับเสียงไหนในภาษาไทย
เราก็จะจำมันได้ไม่ยากเลยคะ

มีทั้งหมด 7 แ ม่ ด้วยกันคะ ดังนี้

1. แม่ กก ได้แก่ ㄱ, ㅋ, ㄲ, ㄳ, ㄺ
เมื่อเห็นตัวสะกดเหล่านี้ให้ออกเสียง ก เป็นตัวสะกด
เช่น 옥수수 อ่านว่า อก-ซู-ซู
부엌อ่านว่า พู-อ็อก,
อ่านว่า พัก,
อ่านว่า ฮก,
อ่านว่า
อิก

2. แม่ กน ได้แก่ ㄴ, ㄵ, ㄶ
เมื่อเห็นตัวสะกดเหล่านี้ให้ออกเสียง น เป็นตัวสะกด
เช่น อ่านว่า ฮัน,
อ่านว่า อัน,
อ่านว่า มัน

3. แม่ กด ได้แก่ ㄷ, ㅅ, ㅈ, ㅊ, ㅎ, ㅆ, ㅌ
ให้ออกเสียง ด เป็นตัวสะกด
เช่น อ่านว่า มุด,
อ่านว่า อด,
อ่านว่า อิด,
อ่านว่า กด,
อ่านว่า ชด,
อ่านว่า อิด,
อ่านว่า
กึด

4. แม่ กล ได้แก่ ㄹ, ㄼ, ㄽ, ㄾ, ㅀ, ㄺ
ให้ออกเสียง ล เป็นตัวสะกด

เวลาออกเสียงต้องม้วนลิ้นนิดหนึ่ง หรือ
เวลาออกเสียงใช้ลิ้นแตะที่เพดานปากนะคะ

เช่น 알다 อ่านว่า อัล-ดา,
อ่านว่า จัล,
맑게 อ่านว่า มัล-เก,
อ่านว่า คล,
อ่านว่า
ซิล

5. แม่ กม ได้แก่ ㅁ, ㄻ
ให้ออกเสียง ม เป็นตัวสะกด
เช่น อ่านว่า คม,
젊다 อ่านว่า
ชอมดา

6. แม่ กบ ได้แก่ ㅂ, ㅍ, ㄼ, ㅄ, ㄿ
สะกดด้วยตัว บ

เช่น อ่านว่า อิบ-ตา,
อ่านว่า อับ,
없다 อ่านว่า ออบ-ตา,
อ่านว่า พับ,

7. แม่ กง ได้แก่ ㅇ (มีตัวเดียวคะ)
ใช้ ง เป็นตัวสะกด

เช่น อ่านว่า คัง,
공항 อ่านว่า คง-ฮัง,
호빵 อ่านว่า โฮ-ปัง


สังเกตนะคะเมื่อคำไหนที่มีตัวสะกดด้วย
การออกเสียงสระในคำนั้น เสียงจะสั้นลง
เช่น เสียงสระ โอ จะออกเสียงเป็น โอะ
สระ อี ออกเสียงเป็น อิ
สระ อา ออกเสียงเป็น อะ (แต่เขียนคำอ่านเป็นไม้หันอากาศ)

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

ขอคนเก่งมาช่วยอ่านกันหน่อยเร้ว !!

เพื่อนๆ เขียนคำอ่านตอบใน comment ได้เลยนะคะ

1. 어디에서(ที่ไหน)
2. 뭐예요 (อะไร)

3. 아주머니 (คุณป้า)
4. 기다리다
(รอ)
5. 소나무
(ฝนไล่ช้าง)
6. 제주도
(เมืองในป.เกาหลี)
7. 더워요(ร้อน)
8. 바쁘다
(ยุ่ง)
9. 시계 (นาฬิกา)

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551

มาฝึกอ่านคำ กันค่ะ

มาฝึกอ่านคำ กันค่ะ

가다 คา-ดา แปลว่า ไป


어머니 ออ-มอ-นี แปลว่า แม่

아버지 อา-บอ-จี แปลว่า พ่อ

오빠 โอ-ปา แปลว่า พี่ชาย (สำหรับ ญ เรียก)

비서 พี-ซอ แปลว่า เลขานุการ

다리미 ทา-รี-มี แปลว่า สะพาน / เตารีด

고끼리 โค-กี-รี แปลว่า ช้าง

추워요 ชู-วอ-โย แปลว่า หนาว

예뻐요 เย-ปอ-โย แปลว่า สวย

우표 อู-พโย แปลว่า ไปรษณีย์

웨이터 อุเว-อี-ทอ แปลว่า พนักงานเสิร์ฟ

샤워하다 ซยา-วอ-ฮา-ดา แปลว่า อาบน้ำ (ฟักบัว)

ในการออกเสียงพยัญชนะกับสระที่มีในภาษาไทย
เช่น ยา ยอ โย ยู วอ วา แว เว

ต้องพยายามออกเสียงให้เป็นพยางค์เดียวกันให้ได้นะคะ
แล้วสำเนียงจะออกมาเป็นแบบโคเรียสุด ๆ เลยหล่ะ ^_^

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551

สระประสม


สระที่เห็นนี้ เป็นสระประสมหรือผสมนั่นเอง
มาจากการประสมกันของสระเดี่ยว จนได้สระใหม่ขึ้นมา
เช่น
สระ ㅐแอ = สระ ㅏ อา + สระ ㅣ อี



การวางสระเดี่ยว

ตำแหน่งของสระเดี่ยวเมื่อนำมาวางกับตัวพยัญชนะ จะมีหน้าตาเช่นนี้คะในที่นี้ เราจะนำตัว ㅇ(อีอึง) มาเป็นตัวพยัญชนะต้นวางกับสระเดี่ยวให้ดูกันคะ
ตัว อีอึง มีลักษณะพิเศษคือ เมื่อมันอยู่กับสระอะไร มันก็จะออกเสียงสระนั้น
ก็เหมือนกับตัว อ ในภาษาไทยนั่นแหละคะ -,-


มีข้อสังเกตสำหรับการวางสระ ให้ดูที่ลักษณะของตัวสระ มีเส้นที่สั้น กับ ยาว

สระที่มีเส้นยาวอยู่แนวตั้ง จะวางอยู่ด้านหลังของพยัญชนะเสมอ
เช่น สระ ㅏ,ㅑ,ㅓ,ㅕ และㅣ

สระที่มีเส้นสั้นอยู่แนวนอน จะวางอยู่ด้านล่างของพยัญชนะเสมอ
เช่น สระ ㅗ,ㅛ,ㅜ,ㅠ,ㅡ

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2551

สระในภาษาเกาหลี

สระในภาษาเกาหลี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สระเดี่ยว 10 ตัว
2. สระประสม 11 ตัว จะแจกแจงให้เห็นดังนี้คะ

สระเดี่ยว มี 10 ตัว ได้แก่
ㅏ อา
ㅑ ยา
ㅓ ออ

ㅕ ยอ
ㅗ โอ

ㅛ โย

ㅜ อู
ㅠ ยู

ㅡ อือ
ㅣ อี


สำหรับเพื่อนๆ คงไม่ยากเลยนะคะ
สำหรับหลักการเขียนก็เหมือนเดิมคะ ลากจากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง

บทหน้าเป็นการวางตำแหน่งของสระกับพยัญชนะ ทีนี้เพื่อน ๆ ก็จะอ่านออกกันแล้วหล่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2551

พยัญชนะฝาแฝด(ประสม)

หลังจากได้พบกับพยัญชนะเดี่ยวไปแล้ว 14 ตัว ไม่ยากเลยใช่มั้ยละ Fighting !

ในภาษาเกาหลีนั้นพยัญชนะต้นยังซ้อนกันได้อีกด้วยคะ แปลกมั้ยละคะ

และเรียกว่า พยัญชนะซ้อน(ประสม) 5 ตัว : เป็นการนำพยัญชนะเดี่ยวมาซ้อนกันเป็น 2 ตัว จนเป็นพยัญชนะตัวใหม่ขึ้นมา ตามมาดูกันคะ
สังเกตนะคะว่า ชื่อของตัวพยัญชนะซ้อนเหล่านี้ มีคำว่า “ซัง” นำหน้า คำนี้มันแปลว่า “คู่ หรือซ้อน”

วิธีการจำตัวพยัญชนะซ้อนทั้ง 5 สหายนี้ คือ “ ไก่ ต้ม เปื่อย แซบ จัง”

อ๋อรึยังคะ ^ , ^ มุขนี้ต้องยกให้กับเพื่อน แฮะ ไม่ได้คิดเอง ^_^!

พยัญชนะในภาษาเกาหลี

ทีนี่จะแจกแจงให้เห็นตัวเป็นๆ ของอักษรภาษาเกาหลีกัน ลองนำไปท่องจำกันดูนะคะ

วิธีการเขียนตัวอักษรเหล่านี้ ให้ลาก จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง

พยัญชนะเดี่ยว 14 ตัว (14 Basic consonants)
ได้แก่