วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2551

การลงท้ายคำกริยา

การลงท้ายคำกริยาในภาษาเกาหลีมี 2 แบบคือ
1. แบบ 다
2. แบบ 요
การลงท้ายคำกริยาแบบ 다 มีความสุภาพและทางการ ในขณะที่แบบ 요 นั้นมักจะใช้ทั่วๆ ไป ไม่ทางการ
อันดับแรก เรามาเรียนแบบที่สุภาพและทางการกันก่อนนะคะ นั่นคือ แบบ 다

การลงท้ายคำกริยาแบบ 다 บอกเล่า – ปัจจุบัน
มีขั้นตอนการผัน ดังนี้ค่ะ

1. ตัด 다 ที่คำกริยาเดิม(แท้)ในภาษาเกาหลีจะลงท้ายด้วย 다 เช่น 먹다,가다,기다리다
2. สังเกตว่า พยางค์สุดท้ายของคำกริยาที่ตัด 다 แล้ว มีตัวสะกด หรือไม่
ถ้า มีตัวสะกดใช้ - 습니다
ไม่มีตัวสะกด ใช้ - ㅂ 니다 โดยนำตัว ㅂไว้ตำแหน่งของตัวสะกดของคำคำกริยานั้น

คำกริยา 먹다 = กิน
ผันคำกริยา เป็น 먹 + 습니다 = 먹습니다 (มอก-ซึม-นี-ดา)

คำกริยา 가다 = ไป
ผันคำกริยาเป็น 가 + ㅂ 니다 = 갑니다

- 기다리다 รอ,คอย = 기다립니다
- 받다 ได้รับ = 받습니다
- 읽다 อ่าน = 읽습니다
- 만니다 พบ,เจอ = 만납니다
- 사랑하다 รัก = 사랑합니다
- 좋아하다 ชอบ = 좋아합니다
- 미안하다 ขอโทษ = 미안합니다
- 어렵다 ยาก = 어렵습니다
- 쉽다 ง่าย = 쉽습니다

คราวนี้ก็ได้รู้คำศัพท์คำกริยาเพิ่มเติมอีกหน่อย รีบท่องกันได้แล้วนะคะ

บทหน้า เป็นรูปแบบ 다 เวอร์ชั่น คำถาม- ปัจจุบัน

ใจเย็นๆ ค่ะ ใกล้จะพูดได้เต็มประโยคแล้วนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551

โครงสร้างประโยคภาษาเกาหลี

ในภาษาเกาหลีมีโครงสร้างประโยคแตกต่างจากภาษาไทยเล็กน้อยค่ะ
เดี๋ยวจะเปรียบเทียบโครงสร้างประโยคของไทยกะเกาหลีให้ดูกัน













จะเห็นได้ว่าในโครงสร้างของภาษาเกาหลีนั้น คำกริยาจะต้องอยู่ที่ท้ายประโยค
เพราะฉะนั้นเวลาจะพูดประโยคในภาษาเกาหลีเราต้องกลับคำให้คำกริยาไปอยู่ที่ท้ายประโยค
ไม่ว่าประโยคจะยาวแค่ไหนก็ตาม
ตัวอย่าง
ไทย : น้อง ดู ทีวี
เกาหลี : น้อง ทีวี ดู

ไทย : แม่ ทำ อาหาร
เกาหลี : แม่ อาหาร ทำ

ไทย : ฉัน ตี หมา
เกาหลี : ฉัน หมา ตี

ไทย : พี่สาว อ่าน หนังสือภาษาเกาหลี
เกาหลี : พี่สาว หนังสือภาษาเกาหลี อ่าน

ลักษณะการพูดประโยคเกาหลีก็จะเป็นเช่นนี้แหละค่ะ
นี่แหละคือเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภาษาเกาหลีนะคะ
บทหน้าจะนำเสนอส่วนสำคัญที่สุดของประโยคภาษาเกาหลีกัน นั่นก็คือ คำกริยา
เกริ่นนำนิดหนึ่งว่าทำไมคำกริยาถึงต้องสำคัญ
เหตุผลก็เพราะว่า คำกริยาจะเป็นตัวบอกกาลเวลา, คำถาม, บอกเล่า, คำสั่ง, ชักชวน หรือ การปฏิเสธ ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจะมีการผันคำกริยาเพื่อบอกกาลเวลาและต่างๆ ที่กล่าวแล้วข้างต้น
หากเราไม่ผันคำกริยา คนเกาหลีก็จะฟังไม่เข้าใจ เช่น คำว่า กิน (먹다)
ถ้าไม่ผัน ก็จะมีความหมายเพียงว่า กิน เท่านั้น
คนฟังไม่รู้หรอกว่า กินแล้ว จะกิน หรือ กำลังกิน
ประมาณนี้ค่ะ อย่าเครียดกันนะคะ มันยากค่ะ

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551

หลักการอ่าน ตอนที่ 3

2. เสียงตัวสะกด แม่กก แม่กด และแม่กบ (ㄱ,ㄷ,ㅂ)อยู่หน้าพยัญชนะต้น ㄴ และ ㅁ
เสียงตัวสะกดในแม่ดังกล่าว จะเปลี่ยนเสียงเป็นดังนี้


- ตัวสะกดแม่กก ㄱ,ㄲ,ㅋ เจอพยัญชนะต้น ㄴ,ㅁ

ตัวสะกดแม่กก ออกเสียงเป็นตัว

เช่น 먹는 อ่านว่า /멍는/มอง-นึน,
국말 อ่านว่า /궁말/ คุง-มัล

- ตัวสะกดแม่กด ㄷ,ㅌ,ㅅ,ㅆ,ㅈ,ㅊ,ㅎ เจอพยัญชนะต้น ㄴ,ㅁ
ตัวสะกดแม่กด ออกเสียงเป็น

เช่น 옷는 อ่านว่า /온는/ อน-นึน ,
닫는 อ่านว่า /단는/ ทัน-นึน

-ตัวสะกดแม่กบ ㅂ,ㅍเจอพยัญชนะต้น ㄴ,ㅁ
เสียงตัวสะกดแม่กบ ออกเสียงเป็นตัว

เช่น 합니다 อ่านว่า /함니다/ฮัม-นี-ดา ,
밥만 อ่านว่า /밤만/ พัม-มัน


3. เมื่อตัว ㄴกับ ㄹ มาเจอกัน ไม่ว่าตัวใดตัวหนึ่งจะเป็นตัวสะกดหรือพยัญชนะก็ตาม
เมื่อมันมาเจอกัน ตัว ㄴให้ออกเสียงเป็นตัว ㄹ

- ㄴ + ㄹ → ㄹ+ㄹ
เช่น 연락 อ่านว่า /열락/ยอล-รัก, 신라 อ่านว่า /실라/ ซิล-รา

- ㄹ + ㄴ→ ㄹ+ㄹ
เช่น 설날 อ่านว่า /설랄/ ซอล-รัล, 오늘날 อ่านว่า /오늘랄/ โอ-นึล-รัล

4. เมื่อตัวสะกด ㄷ และ ㅌ อยู่หน้าคำว่า

- ตัวสะกด ㄷ + 이 →
เช่น 맏이 อ่านว่า /마지/ มา-จี, 해돋이 อ่านว่า /해도지/ แฮ-โด-จี

- ตัวสะกด ㅌ+ 이 →
เช่น 같이 อ่านว่า /가치/คา-ชี่, 밭이 อ่านว่า /바치/ พา-ชี่

ติดตามตอนต่อไปนะคะ