วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551

โครงสร้างประโยคภาษาเกาหลี

ในภาษาเกาหลีมีโครงสร้างประโยคแตกต่างจากภาษาไทยเล็กน้อยค่ะ
เดี๋ยวจะเปรียบเทียบโครงสร้างประโยคของไทยกะเกาหลีให้ดูกัน













จะเห็นได้ว่าในโครงสร้างของภาษาเกาหลีนั้น คำกริยาจะต้องอยู่ที่ท้ายประโยค
เพราะฉะนั้นเวลาจะพูดประโยคในภาษาเกาหลีเราต้องกลับคำให้คำกริยาไปอยู่ที่ท้ายประโยค
ไม่ว่าประโยคจะยาวแค่ไหนก็ตาม
ตัวอย่าง
ไทย : น้อง ดู ทีวี
เกาหลี : น้อง ทีวี ดู

ไทย : แม่ ทำ อาหาร
เกาหลี : แม่ อาหาร ทำ

ไทย : ฉัน ตี หมา
เกาหลี : ฉัน หมา ตี

ไทย : พี่สาว อ่าน หนังสือภาษาเกาหลี
เกาหลี : พี่สาว หนังสือภาษาเกาหลี อ่าน

ลักษณะการพูดประโยคเกาหลีก็จะเป็นเช่นนี้แหละค่ะ
นี่แหละคือเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภาษาเกาหลีนะคะ
บทหน้าจะนำเสนอส่วนสำคัญที่สุดของประโยคภาษาเกาหลีกัน นั่นก็คือ คำกริยา
เกริ่นนำนิดหนึ่งว่าทำไมคำกริยาถึงต้องสำคัญ
เหตุผลก็เพราะว่า คำกริยาจะเป็นตัวบอกกาลเวลา, คำถาม, บอกเล่า, คำสั่ง, ชักชวน หรือ การปฏิเสธ ฯลฯ
เพราะฉะนั้นจะมีการผันคำกริยาเพื่อบอกกาลเวลาและต่างๆ ที่กล่าวแล้วข้างต้น
หากเราไม่ผันคำกริยา คนเกาหลีก็จะฟังไม่เข้าใจ เช่น คำว่า กิน (먹다)
ถ้าไม่ผัน ก็จะมีความหมายเพียงว่า กิน เท่านั้น
คนฟังไม่รู้หรอกว่า กินแล้ว จะกิน หรือ กำลังกิน
ประมาณนี้ค่ะ อย่าเครียดกันนะคะ มันยากค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น: